วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552

เทคนิคในการใช้เครื่องฉายการผลิตและการนำเสนอแผ่นโปร่งใส

การใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะง่ายกว่าเครื่องฉายชนิดอื่น เพราะไม่มีระบบที่ยุ่งยากข้อเสนอแนะวิธีใช้ดังนี้

1) เสียบปลั๊กไฟตามระบบไฟของเครื่องฉาย
2) วางแผ่นโปร่งใสที่ต้องการฉายบนแท่นวาง การวางแผ่นโปร่งใสลงบนแท่น วางให้วางในลักษณะที่ผู้ใช้เห็นหรืออ่านได้ตามปกติ นั่นก็คือหันด้านหัวของแผ่นโปร่งใสเข้าหาผู้เรียน แล้ววางหรือเขียนบนแผ่นโปร่งใสตามต้องการ 3
) เปิดสวิทซ์หลอดฉาย จะเห็นภาพหรือข้อความบนจอ ปรับความชัดของภาพ โดยหมุนปุ่มปรับความชัดให้เลนส์เลื่อนขึ้นลง จอภาพบนจอมีความคมชัดดี
4) ถ้าต้องการให้ภาพมีขนาดใหญ่ขึ้น ให้เลื่อนเครื่องฉายออกห่างจากจอ (ปิดหลอดฉายก่อน ถ้าไม่ปิดหลอดฉายให้ยกเครื่องฉายด้วยความระมัดระวัง อย่าให้เครื่องฉายสะเทือน) ถ้าภาพล้นจอให้เลื่อนเครื่องฉายเข้าหาจอ
5) ถ้าภาพไม่ตรงจอคือสูงหรือต่ำไป ให้ยกเลนส์ฉายหรือกระจกเงาราบบนเลนส์ฉาย ให้เห็นภาพบนจอพอดี ไม่ควรใช้มือถูกเลนส์ฉายและกระจกเงา จะทำให้สกปรก ภาพไม่ชัดเจนเท่าที่ควร
6) ในขณะที่ใช้ควรขี้ส่วนตัวของข้อความหรือภาพโดยใช้เครื่องใช้หรือพื่อให้มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้ดู
7) เมื่อเลิกฉายปิดสวิทซ์หลอดฉาย พัดลมจะยังหมุนอยู่เพื่อระบายความร้อน เมื่อเครื่องเย็นพัดลมจะหยุดเอง แล้วจึงถอดปลั๊กไฟ เก็บเครื่องเข้าที่ให้เรียบร้อย

8.2.4 เทคนิคการผลิตแผ่นโปร่งใส ปัจจุบันมีวิธีการผลิตนิยมโดยทั่วไป ดังนี้
1) ผลิตโดยการเขียน ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้ปากกาสำหรับเขียนแผ่นใส โดยเฉพาะ ซึ่งมีทั้งแบบชั่วคราว (ล้างออกได้ด้วยน้ำ) และแบบถาวร (ล้างออกได้ด้วยทินเนอร์) ปากกาที่ใช้ควรมีขนาดที่เขียนแล้วอ่านง่าย โดยทั่วไปนิยมใช้ปากกาเบอร์ M
2) ผลิตโดยการถ่ายเอกสาร ใช้แผ่นโปร่งใสชนิดถ่ายกับเอกสาร โดยนำต้นฉบับที่เป็น ขาว-ดำ มาถ่ายลงเช่นเดียวกับถ่ายเอกสารบนกระดาษ
3) ผลิตโดยวิธีไดอะไซ ใช้ฟิล์มไดอะไซ สร้างภาพจากต้นฉบับ
4) ผลิตโดยการทำซิล์คสกรีน การทำโดยสกรีนสีบนแผ่นใส สีที่นำมาพิมพ์ต้อง เป็นสีโปร่งแสงเท่านั้น
5) ผลิตโดยใช้ฟิล์ม ไฮ-คอนทราส ใช้กระบวนการห้องมืด เพื่อสร้างภาพโดยภาพที่ได้เป็น ขาว-ดำ และนำมาตกแต่งสีภายหลัง
6) ผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ เป็นการผลิตโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม Power Point, Authorware, Photoshop เป็นต้น สามารถทำได้สวยงาม สะดวก และมีคุณภาพดีกว่าวิธีอื่น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น: